SUPERLENE POM MC NYLON NYLON CAST NYLON PE300 PE500 PE1000 PP PVC ACRYLIC BAKELITE PAPER CUTTON EPOXY G10-G11 PTFE PEEK1000 POLYURETENE PU NBR NR SILICONE PVC BELE PU BELT TIMING BELT FLATE BELT TRANMISION BELT

ENGINEERING PLASTIC    (พลาสติกวิศวกรรม )

        สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท 

1.เทอร์โมพลาสติก (thermoplastics; thermo แปลว่า ความร้อน และ plastic แปลว่า อ่อนนุ่ม) พลาสติกชนิดนี้ เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่ออุณหภูมิลดลงจะแข็งตัว ถ้าให้ความร้อนอีกก็จะอ่อนตัว สามารถทำให้กลับเป็นรูปเดิมหรือเปลี่ยนเป็นรูปอื่นได้ โดยสมบัติของพลาสติกเหมือนเดิม พลาสติกประเภทนี้ โครงสร้างโมเลกุล เป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากๆ โดยจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่างของเทอร์มอพลาสติก คือ พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน (เป็นการเปลี่ยนสภาวะทางกายภาพเท่านั้น เปรียบเหมือนการเปลี่ยนสถานะของน้ำและน้ำแข็ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนไป-กลับได้หลายครั้ง )

 2.พลาสติกเทอร์โมเซต (thermosettingplastics หรือ thermoset; thermo แปลว่า ความร้อน และ set แปลว่า ทำให้แข็ง) พลาสติกชนิดนี้ จะคงรูปภายหลังจากการผ่านความร้อน หรือแรงดัน เพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งตัว มีความแข็งแรงมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงพอ ก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้ โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้

หมายเหตุ พลาสติกส่วนใหญ่จัดเป็น“เทอร์โมพลาสติก”ซึ่งเมื่อได้รับความร้อนประมาณ 200 องศาเซลเซียส สายโมเลกุลของพลาสติก จะคงสภาพอยู่ได้ แต่จะแยกตัวห่างพอ ที่จะเลื่อนซ้อนกันได้อีก ดังนั้น เราจึงนำพลาสติกชนิดนี้ มาหลอมและหล่อใหม่ได้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก (สามารถนำมารีไซเคิลได้เป็นอย่างดีทีเดียว) เมื่อพลาสติกเย็นลง ก็จะมีรูปใหม่ที่แข็งแกร่งเหมือนเดิม ส่วน “เทอร์โมเซ็ต”เมื่อถูกความร้อนครั้งหนึ่งแล้วก็หมดคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างนั้นจะไม่สามารถนำมาหล่อใหม่ได้อีก เช่น PU (polyurethane)

คุณสมบัติของพลาสติก

พลาสติกนับว่าเป็นวัสดุที่มีบทบาทและสำคัญมากในยุคปัจจุบันนี้ และเป็นคู่แข่งของเหล็ก ซึ่งนับวันได้ถูกใช้อย่างมากมายจนเหลือน้อยทำให้พลาสติกได้ถูกนำมาใช้แทนอย่างมาก เพราะพลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษดีเด่นกว่าวัสดุอื่นที่ใช้กันมาก่อนอย่างมากมาย เพราะสามารถใช้แทนวัสดุอื่นได้เกือบทั้งหมด เช่น

แข็งแรง

ทนการสึกกร่อน

ทึบแสง และเบา

อ่อนนุ่ม

ทนสารเคมี

ลอยน้ำได้

ยืดตัว

เป็นฉนวนไฟฟ้า

หล่อลื่นในตัว

เหนี่ยวทนทาน

กันน้ำ

ทำเป็นสีต่าง ๆ ได้

โปร่งใส

ไม่ไฟติดง่าย

ทนความร้อน

พลาสติกมีคุณสมบัติทางโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า High Molecular Weight คือในหนึ่งโมเลกุลมีจำนวนอะตอมมากกว่าสารชนิดอื่นมากมาย จึงทำให้มีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างพร้อมกันไป คือ

คุณสมบัติทางกายภาพ มีความแข็งแรง เหนียว ยืดหยุ่น ฯลฯ

คุณสมบัติทางไฟฟ้า เป็นฉนวนไฟฟ้า

คุณสมบัติทางเคมี ทนกรด ด่าง และสารเคมีอื่น ๆ                                                                                                                                            ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติพลาสติกเมื่อเทียบกับเหล็ก    

         ข้อดี

1.น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายได้ง่าย

2.ทนต่อกรด ด่างได้ดี ทำให้ไม่เกิดสนิม

3.กรรมวิธีผลิตชิ้นงานทำได้ง่ายและครั้งละหลาย ๆ ชิ้น

4.เป็นฉนวน กับกระแสไฟฟ้าได้ดี

5.สามารถ เชื่อม กลึง ใส เจาะ ประกอบได้ง่าย

6.ราคามีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เพราะกรรมวิธีการผลิตทันสมัย และปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น

7.ผสมสีเข้ากันได้ดี ชิ้นงานจึงสามารถจะย้อมสีอะไรก็จะทำได้ง่ายและคงทน

          ข้อเสีย

1.ความมั่นคงแข็งแรงน้อยกว่าเหล็ก

2.ทนความร้อนได้น้อย ทำให้อ่อนตัวได้ง่าย

3.ระยะเวลาการใช้งานสั้นกว่า

4.เมื่อชำรุดแล้วซ่อมแซมได้ยาก

5.เปอร์เซนต์การหดตัวมากกว่าเหล็กมาก

           

 

          

Visitors: 35,961